วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

 
 
บันทึกการเข้าเรียน
 

สรุปวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ผู้แต่ง ศศิพรรณ สำแดงเดชเส
 
ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม

การทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ

การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
ความสำคัญของการวิจัย
ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ปฐมวัยได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก

ปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการ

ทดลองหลังการฟังนิทานให้มี ความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชายหญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น
อนุบาลปีที่

2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขต
จอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร
 
2. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หมายถึง การที่เด็กได้ฟังนิทานที่
เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเล่าเรื่องนั้นมีสื่อต่างๆ เช่น ภาพ หุ่นประกอบการเล่า
เพื่อให้เด็กตั้งใจฟังนิทาน จากนั้นเด็กทำกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นให้เด็กได้ใช้
ประสาทสัมผัสในการสังเกต การจำแนกประเภทและการสื่อสาร โดยบรรยายผลการสังเกตซึ่งเป็น
การฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน สามารถจำแนกออกได้
เป็น

3 ขั้นตอนคือ
2.1 ขั้นนำ การนำเข้าสู่การฟังนิทาน โดยใช้ คำคล้องจอง เพลงและเล่นเกม

2.2 ขั้นดำเนินการ การทดลองหลังการฟังนิทาน เด็กทำการทดลองด้วยตนเอง
และในบางครั้งเด็กกับครูทำการทดลองร่วมกัน

2.3 ขั้นสรุป เด็กมีความเข้าใจในกิจกรรมที่ทำและสามารถสื่อความหมาย การ
ร่วมกันสรุปให้กลุ่มอื่นฟัง

สรุปได้ว่า จุดประสงค์ของการเล่านิทาน คือการใช้นิทานในการพัฒนาภาษาและ

ความคิด สร้างความรักการอ่านให้กับเด็ก สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก ช่วยพัฒนาสติปัญญา ปลูกฝัง

ลักษณะนิสัยที่ พึงประสงค์ และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้แก่เด็กได้
 
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

การกำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย

-หญิง ที่มีอายุ 5-6 ปี ที่กำลัง

ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่

2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)

สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน

175 คน

กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย

-หญิงที่มีอายุ 5-6 ปี ที่กำลัง

ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่

2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)

สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงดังนี้
1. เลือกห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงาน

เขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร มา

1 ห้องเรียนจากนักเรียน 5 ห้องเรียน โดยเป็นห้องเรียนที่

ผู้วิจัยทำการสอนซึ่งมีนักเรียนจำนวน 35 คน

2. ทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กทั้งห้อง โดยใช้แบบทดสอบวัด

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3. นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กทั้งห้อง

มาเรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย เลือกเด็กกลุ่มที่ได้คะแนนต่ำที่สุดขึ้นไป

15 อันดับ จำนวน 15  คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า


การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ

เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู และผู้ที่

เกี่ยวข้องในการส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย รวมทั้งเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการ

ทดลองหลังการฟังนิทานให้มีจุดประสงค์ยิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในการดำเนินการวิจัยดังนี้
ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ

ทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง
สมมุติฐาน
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทาง

วิทยาศาสตร์ในแต่ละทักษะสูงขึ้น และรวมทุกทักษะสูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
                                                                                     


5-6 ปี ที่กำลังศึกษา

อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่

2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงาน

เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงได้ห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่

2 มา 1ห้องเรียนซึ่งผู้วิจัยทำการสอน ทดสอบเด็กทั้งห้องโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเลือกเด็กที่มี

คะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ใน

15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อมั่น .66

50
วิธีการดำเนินการทดลอง
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่

2 ปีการศึกษา 2551 ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา 08.30 –09.00 . รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยใน

ขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที

ในช่วงเวลา

8.30 – 09.00 . ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัย

ดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
3. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง

กับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า


1. สถิติพื้นฐาน

1.1 คะแนนเฉลี่ย
 
1.2 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 
2. สถิติทดสอบสมมติฐาน

เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและ

หลังการทดลองโดยใช้สูตร

t – test for dependent Samples

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง

วิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่

 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่า

ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่
 
ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้าน

การสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน

โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่
ในระดับดี


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น