วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

 
 
บันทึกการเข้าเรียน
 

สรุปวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ผู้แต่ง ศศิพรรณ สำแดงเดชเส
 
ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม

การทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ

การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
ความสำคัญของการวิจัย
ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ปฐมวัยได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก

ปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการ

ทดลองหลังการฟังนิทานให้มี ความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชายหญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น
อนุบาลปีที่

2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขต
จอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร
 
2. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หมายถึง การที่เด็กได้ฟังนิทานที่
เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเล่าเรื่องนั้นมีสื่อต่างๆ เช่น ภาพ หุ่นประกอบการเล่า
เพื่อให้เด็กตั้งใจฟังนิทาน จากนั้นเด็กทำกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นให้เด็กได้ใช้
ประสาทสัมผัสในการสังเกต การจำแนกประเภทและการสื่อสาร โดยบรรยายผลการสังเกตซึ่งเป็น
การฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน สามารถจำแนกออกได้
เป็น

3 ขั้นตอนคือ
2.1 ขั้นนำ การนำเข้าสู่การฟังนิทาน โดยใช้ คำคล้องจอง เพลงและเล่นเกม

2.2 ขั้นดำเนินการ การทดลองหลังการฟังนิทาน เด็กทำการทดลองด้วยตนเอง
และในบางครั้งเด็กกับครูทำการทดลองร่วมกัน

2.3 ขั้นสรุป เด็กมีความเข้าใจในกิจกรรมที่ทำและสามารถสื่อความหมาย การ
ร่วมกันสรุปให้กลุ่มอื่นฟัง

สรุปได้ว่า จุดประสงค์ของการเล่านิทาน คือการใช้นิทานในการพัฒนาภาษาและ

ความคิด สร้างความรักการอ่านให้กับเด็ก สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก ช่วยพัฒนาสติปัญญา ปลูกฝัง

ลักษณะนิสัยที่ พึงประสงค์ และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้แก่เด็กได้
 
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

การกำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย

-หญิง ที่มีอายุ 5-6 ปี ที่กำลัง

ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่

2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)

สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน

175 คน

กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย

-หญิงที่มีอายุ 5-6 ปี ที่กำลัง

ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่

2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)

สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงดังนี้
1. เลือกห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงาน

เขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร มา

1 ห้องเรียนจากนักเรียน 5 ห้องเรียน โดยเป็นห้องเรียนที่

ผู้วิจัยทำการสอนซึ่งมีนักเรียนจำนวน 35 คน

2. ทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กทั้งห้อง โดยใช้แบบทดสอบวัด

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3. นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กทั้งห้อง

มาเรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย เลือกเด็กกลุ่มที่ได้คะแนนต่ำที่สุดขึ้นไป

15 อันดับ จำนวน 15  คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า


การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ

เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู และผู้ที่

เกี่ยวข้องในการส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย รวมทั้งเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการ

ทดลองหลังการฟังนิทานให้มีจุดประสงค์ยิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในการดำเนินการวิจัยดังนี้
ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ

ทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง
สมมุติฐาน
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทาง

วิทยาศาสตร์ในแต่ละทักษะสูงขึ้น และรวมทุกทักษะสูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
                                                                                     


5-6 ปี ที่กำลังศึกษา

อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่

2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงาน

เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงได้ห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่

2 มา 1ห้องเรียนซึ่งผู้วิจัยทำการสอน ทดสอบเด็กทั้งห้องโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเลือกเด็กที่มี

คะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ใน

15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อมั่น .66

50
วิธีการดำเนินการทดลอง
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่

2 ปีการศึกษา 2551 ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา 08.30 –09.00 . รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยใน

ขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที

ในช่วงเวลา

8.30 – 09.00 . ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัย

ดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
3. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง

กับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า


1. สถิติพื้นฐาน

1.1 คะแนนเฉลี่ย
 
1.2 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 
2. สถิติทดสอบสมมติฐาน

เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและ

หลังการทดลองโดยใช้สูตร

t – test for dependent Samples

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง

วิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่

 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่า

ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่
 
ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้าน

การสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน

โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่
ในระดับดี


 

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

 
 
บันทึกการข้ารียน
 
  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก แกงจืดเต้าหู้
 
 
 

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้ารียน
 
       วันนี้สอนโดย อ.ตฤน แจ่มถิน อาจารย์สอนให้เรื่องของการขียนแผนการทำ cooking
อาจารย์ให้นักศึกษา แบ่งกลุ่ม 7-8 คน ร่วมกันรมความคิดเกี่ยวกับการทำอาหารที่เหมาะสำหรับเด็ก จากนั้น ก็ให้นักศึกษาขียนเป็นแผนออกมานำเสนอหน้าชั้นรียน โยให้นักศึกษาเลือกเอาแผนที่คิดว่าดีที่สุด ไปประกอบอาหารจริงๆ
สรุป ได้ทำแกงจืด
 
 
 

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

 
 
บันทึกการข้ารียน
 
เรียนชดเชย
 
การนำเสนอสื่อ
 
 

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน 

กลุ่มดิฉันได้เสนอการทดลอง เปลวไฟลอยน้ำ





นำเสนอสื่่อ


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

 
 
บันทึกการเข้าเรียน
 
วันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
 


          รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ อำเภอบ้านหว้ากอ

ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ 

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ ที่ 8 ก.ค 56

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4
 
* อาจารย์ให้ พับกระดาษ 8 หน้าทำสมุดเล่มเล็ก วาดภาพลงบนกระดาษ โดยวาดให้มีรายละเอียดค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละหน้าหรือเป็นภาพต่อเนื่องกัน และลองกรีดกระดาษไวๆ จะเห็นภาพเคลื่อนไหวได้
- (อาจารย์ให้หาคำตอบว่าทำไม? เราจึงเห็นภาพเหมือนเคลื่อนไหวได้เมื่อกรีดกระดาษไวๆ)
 
    
คำตอบที่อาจารย์ให้หา
การที่เราเห็นภาพเคลื่อนไหวนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีการเห็นภาพติดตา

ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)

 
                                                       Dr. John Ayrton Paris
         หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
 
 อ้างอิงจาก  (http://www.sciencephoto.com/media/127523/enlarge)
 
* อาจารย์ให้นำเสนอ ของเล่นวิทยาศาสตร์พร้อมอธิบาย คอนเซปของเล่นที่ตนเองเลือกด้วย
* อาจารย์ให้ดู VDO อากาศมหัศจรรย์


 

 
 
 
 

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนสัปดาที่ 3

อาจารย์ให้ดู วีดีโอ เรื่องความลับของแสง พร้อมให้บอกประโยน์จากการดู






วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2

บันทึกการเข้าเรียน
-เนื้อหาที่เรียน
 
ความหมายของวิทยาศาสตร์

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 1075) ได้ให้ความหมายว่า“วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ที่ได้โดยการสังเกต และค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบวิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ”

Dr Arther Acarin วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ได้ผ่านการทดสอบยืนยันมาเเล้ว และได้สะสมไว้อย่างมีระบบ
     โดยสรุป “วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริงโดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่”

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
 
       วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนผลผลิตต่างๆ เพื่อใช้อำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก ความรู้วิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษา ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน และที่สำคัญยิ่งคือ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศและดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

-อาจารย์ให้ดูวีดีโอเรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ